ขั้นตอนการขอรับเงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
1. ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ขอรับการสนับสนุน
1.1 เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยในขณะที่มีการตีพิมพ์บทความนั้น
1.2 เป็นผู้เขียนบทความนั้น โดยเป็น First Author หรือเป็น Corresponding Author ที่ระบุชื่อมหาวิทยาลัยไว้ในตำแหน่งที่อยู่ของผู้เขียนปรากฏอยู่ในบทความอย่างชัดเจน โดยบทความใดได้รับค่าตอบแทนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากแหล่งทุนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยแล้วจะไม่ได้รับการสนับสนุนตามประกาศนี้ และจะต้องมีหนังสือยินยอมและรับรองจากผู้เขียนร่วม
- เป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับการสนับสนุนและได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว
- เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้ร่วมโครงการวิจัยที่สมทบงบประมาณวิจัยเข้ากองทุนสนับสนุนงานวิจัย หรือ เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยเป็นอย่างดี
- ไม่เป็นผู้ผิดสัญญารับทุนอุดหนุนงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยและแหล่งทุนอื่น ๆ
- บทความวิจัยที่ขอรับการสนับสนุน จะต้องเป็นบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) โดยมีการระบสังกัด (สาขาวิชา หรือภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัย) ในบทความวิจัยที่ขอรับการสนับสนุนต้องมี
1.7 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) ที่ระบุว่าได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในบทความด้วย
บทความวิจัยที่ขอรับการสนับสนุน ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือเพื่อสำเร็จการศึกษาของผู้รับการสนับสนุน
2. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนให้เบิกจ่าย ดังนี้
2.1 การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 ให้จ่ายเงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 10,000 บาท โดยให้การสนับสนุนไม่เกินปีงบประมาณละ 2 บทความต่อคนต่อปี
2.2 การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล SCImago Journal Rank (SJR) แต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล Institute for Scientific Information (ISI) ให้จ่ายเงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้การสนับสนุนไม่เกินปีงบประมาณละ 3 บทความต่อคนต่อปี
2.3 การตีพิมพ์บทความในวารสารระดับนานาชาติ ที่มีค่า Impact Factor ตามฐานข้อมูล Institute for Scientific Information (ISI) และอยู่ในฐานข้อมูล SCImago Journal Rank (SJR) พิจารณาจากการจัดค่าควอไทล์ (Quartile; Q) ในปีล่าสุด ให้จ่ายเงินรางวัลสนับสนุนแบบไม่จำกัดจำนวนบทความ ในอัตราดังนี้
– ควอไทล์ที่ 1 (Q1) เงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 50,000 บาท
– ควอไทล์ที่ 2 (Q2) เงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 40,000 บาท
– ควอไทล์ที่ 3 (Q3) เงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 30,000 บาท
– ควอไทล์ที่ 4 (Q4) เงินรางวัลสนับสนุนไม่เกิน 20,000 บาท
2.4 บทความที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้แบ่งจ่ายตามจำนวนเงินในข้อ (2.1) ถึงข้อ (2.3) ในอัตราส่วนที่เท่ากัน และจะจ่ายให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น
ทั้งนี้ การพิจารณาอนุมัติวงเงินสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนในแต่ละกรณี ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการ
บทความวิจัยเรื่องหนึ่งสามารถขอรับการสนับสนุนได้เพียงครั้งเดียว โดยเป็นบทความ
ที่ได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยหรือมีการระบุเลขที่ฉบับและเลขหน้าในวารสารแล้ว และเสนอขอรับการสนับสนุนได้ ไม่เกิน ๑ ปี หลังการตีพิมพ์
- การจัดทำเอกสารการขอรับการสนับสนุน
3.1 หนังสือนำส่ง ออกจากหน่วยงานต้นสังกัด
3.2 แบบฟอร์ม สวพ.11.1 (แบบฟอร์มการขอรับเงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์)
3.3 สำเนา Reprint ของบทความ (รวมหน้าปก สารบัญ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)
3.4 หลักฐานที่แสดงว่าวารสารอยู่ในฐานข้อมูลที่ระบุ
**ทั้งนี้โปรดกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น วัน เดือน ปี เป็นต้น
ทั้งนี้สามารถหาข้อมูลได้จากประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ พ.ศ. 2563